งานวิจัยด้านพลังงาน (Electrical energy efficiency)

ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม ได้พัฒนาวิจัยงานด้านพลังงาน มีการทำระบบกักเก็บพลังงานอัจฉริยะ หรือ Energy Storage ร่วมดำเนินการกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นการใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่อัจฉริยะ มาบริหารจัดการพลังงานจากแหล่งผลิตและการใช้งาน โดยที่การใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม หรือโซล่าร์เซลล์นั้น เป็นที่ทราบกันว่ามีความไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแสงแดด ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกัน การใช้ไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน (Load) การที่จะทำให้แหล่งผลิต (Source) และ Load มีความสัมพันธ์กันนั้นเป็นเรื่องลำบาก ดังนั้นในโครงการนี้จึงใช้ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่อัจฉริยะในการบริหารจัดการให้มีความสัมพันธ์กัน ในการออกแบบนำแบตเตอรี่ในระดับเซลล์มาประกอบเป็น แบตเตอรี่ระดับโมดูลแพ็ค เพื่อนำไปใช้งานเฉพาะแบบทางด้านกักเก็บพลังงานทดแทนและปัจจุบันใช้งานจริงโดยมี Proven sites  อยู่ที่ลำตะคอง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นระบบกักเก็บจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์จึงมีความสำคัญและนับเป็นก้าวสำคัญในการการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานยุคใหม่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการใช้พลังงานสีเขียวในประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ปัจจุบันระบบกักเก็บพลังงานดังกล่าวได้รับการรับรองให้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS)

ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่เป็นตัวกลาง (Battery-based electricity storage system: BESS) เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถกักเก็บได้ในตัวกลางเพื่อนำกลับมาใช้งานยามต้องการ มีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า และการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทน (Renewable Energy) เช่น แหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม

    ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรมได้พัฒนาวิจัย“ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Power Pack) สำหรับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค” เป็น BESS ขนาด 5 กิโลวัตต์ สามารถเคลื่อนย้ายและนำไปติดตั้งในพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ที่ไม่สามารถขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้าไปใช้งานได้  “ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Energy Storage System) อัตราการคายประจุ 20C สำหรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” เป็น BESS ขนาด 1 เมกะวัตต์ ที่ใช้งานร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และ พลังงานลม

พื้นที่ติดตั้ง: โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

พื้นที่ติดตั้ง: โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก