รายการ ” ของมันต้องดู” รายการที่จะเปิดมุมมองด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

Knowledge

รายการ ” ของมันต้องดู” รายการที่จะเปิดมุมมองด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

“คุณภาพ” ถือเป็นปัจจัยชี้ขาดสำคัญในการแข่งขันทางการค้า แต่อะไรคือ “หลักประกัน” ที่จะมาช่วยการันตีว่า สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีคุณภาพและได้มาตรฐานที่เป็นยอมรับระดับสากล

    สำหรับวันนี้ เราขอเสนอ แนะนำพันธกิจการให้บริการด้านการวิเคราะห์และทดสอบด้วยมาตรฐานสากล เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าของไทย โดยหน่วยงานภายใต้ สวทช. ในรายการ “ของมันต้องดู” รายการที่จะเปิดมุมมองด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจและดูแลคุณภาพชีวิตของทุกๆคน

     ติดตามรายการ ” ของมันต้องดู” รายการที่จะเปิดมุมมองด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจและดูแลคุณภาพชีวิตของทุก ๆ คน  ได้ทาง Facebook และ Youtube  : Thailand Quality Hub

แนะนำ ศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว (TD-X Center :Thailand Science Park & depa Acceleration Center) 

DECC NEWS & EVENTS

          แนะนำ ศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว (TD-X Center :Thailand Science Park & depa Acceleration Center)  หน่วยงานพัฒนา Platform และสร้าง Ecosystem ในการเร่งการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs Startup สำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการด้านนวัตกรรม ตั้งแต่การออกแบบและพัฒนาต้นแบบที่ครบวงจรอย่างรวดเร็ว โดยอาศัย Platform เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน การให้ความรู้ คำแนะนำและหน่วยงานที่มีเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับให้บริการออกแบบ บริการผลิตต้นแบบ การทดสอบคุณภาพตามมาตรฐานด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม รวมถึงการทำ Market Validation หรือ MVP (Minimum Viable Product) เพื่อศึกษา Function และ Features ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และการคำนวนต้นทุนเบื้องต้นให้พร้อม Scale up ตลอดจนสนับสนุนการบ่มเพาะธุรกิจ การลงทุน ขยายการผลิตผลิตภัณฑ์ออกสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs Startup สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว มีคุณภาพมาตรฐาน และตรงความต้องการของตลาด เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ 

 

ศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว (TD-X Center) เปิดให้บริการและเข้าเยี่ยมชมได้แล้ววันนี้!

นาย กฤษกรณ์ หอมดี โทร 02-564-6310 ต่อ 123

นายชัยนันท์ แสงสุระธรรม มือถือ 081-710-3831

อีเมล: marketing@decc.or.th

เว็บไซต์ https://www.tdxlab.com/

Facebook: https://www.facebook.com/TDXCenter

บทบาทของ DECC กับเทคโนโลยี Automation ในยุค 4.0

Knowledge

บทบาทของ DECC กับเทคโนโลยี Automation ในยุค 4.0

ในปัจจุบันนโยบาย Thailand 4.0 กำลังเป็นที่พูดถึงในวงการอุตสาหกรรมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” คือเปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ส่วนหนึ่งขององค์ประกอบที่จะต้องทำการเปลี่ยนผ่านทั้งระบบคือ เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ โดยรัฐจะต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง จะเห็นได้จากการกำหนดกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อสนับสนุนในด้านพัฒนาวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา เพื่อต่อยอดให้เกิดผลขึ้นจริง หากกล่าวในมุมของภาคอุตสาหกรรมที่เป็นอุตสาหกรรม 4.0 การนำเทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามาเป็นตัวช่วยในการจัดการระบบการทำงานให้มีตัวแปรชัดเจนขึ้น นับเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนากระบวนการผลิตที่จะนำมาพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สามารถมองเห็นกระบวนการได้ตั้งแต่เริ่มจนจบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมในการเริ่มเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการในการพัฒนากระบวนการผลิตและการทำงานของสถานประกอบการเอง เพื่อตอบรับแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0

บทบาทของศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) กับนโยบาย Thailand 4.0 จึงเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการในฐานะหน่วยงานของรัฐที่จะคอยให้การสนับสนุนโดยตรงทั้งในส่วนของเทคโนโลยี นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดให้กับผู้ประกอบการ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในทุกๆ ด้าน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) ได้นำมาพัฒนาให้กับผู้ประกอบการ ได้แก่ ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ หรือเทคโนโลยีออโตเมชั่น ที่เป็นระบบการทำงานในลักษณะซ้ำ ๆ ในรูปแบบของเครื่องจักรที่สามารถทดแทนการใช้แรงงานคน ระบบการทำงานที่ต้องควบคุมคุณภาพของสินค้า การตรวจวัดละเอียด ตลอดจนระบบการทำงานที่มีความสุ่มเสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฎิบัติงาน ซึ่งในปัจจุบันมีระบบการทำงานที่หลากหลายและมีการควบคุมการทำงานที่แตกต่างกัน


ตัวอย่างผลงานที่ใช้เทคโนโลยีออโตเมชั่น
 ได้แก่ การพัฒนาเครื่องขอดเกล็ดปลาอัตโนมัติที่ได้ถูกพัฒนาให้ทดแทนการทำงานในกระบวนการผลิตแบบเดิมที่ต้องใช้แรงงานคนในการขอดเกล็ดปลาเป็นจำนวนมาก เพื่อนำปลาที่ขอดเกล็ดแล้วเข้าสู่กระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ ทาง DECC จึงได้นำเทคโนโลยีออโตเมชั่นมาใช้ในการพัฒนาเป็นเครื่องขอดเกล็ดปลาอัตโนมัติเพื่อตอบโจทย์ของปัญหา เครื่องขอดเกล็ดอัตโนมัติที่ได้จะมีขบวนการทำงานโดยใช้แรงดันน้ำในลักษณะของหัวฉีด และมุมองศาที่พอเหมาะทำการขอดเกล็ดปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพและความรวดเร็ว ซึ่งในแผนการพัฒนาในระยะต่อไปจะเป็นการพัฒนาให้สามารถมีกระบวนการตัดหัวท้าย และดึงไส้ออกของปลาภายในเครื่องเดียวกัน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและตรงตามความต้องการของการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตได้อย่างครบถ้วน

การพัฒนาของภาคอุตสาหกรรรมในปัจจุบัน ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญและต้องมีการปรับตัวในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตและกระบวนการทำงานในการลดต้นทุนและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกวิธี ที่จะต้องหาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยในการขอคำปรึกษาและค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่จะคอยสนับสนุนและช่วยเหลือภาคอตุสาหกรรมและผู้ประกอบการ เพื่อเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

 

สวทช. ลงนามความร่วมมือองค์การคลังสินค้า

DECC NEWS & EVENTS

สวทช. ลงนามความร่วมมือองค์การคลังสินค้า

 
ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม สวทช. ลงนามความร่วมมือองค์การคลังสินค้า เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าและแปรรูปสินค้าเกษตร 18 เมษายน 2565 องค์การคลังสินค้า โดยนายเกรียงศักดิ์ ประทีปวิศรุต ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า และ ดร.อัมพร โพธิ์ใย ผู้อำนวยการศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) ผู้แทนผู้อำนวยการ สวทช. ลงนามบันทึกความร่วมมือ “การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อการค้าอย่างยั่งยืน” ณ.โถง Business Center ทาวเวอร์ D ชั้น 1 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดย น.สพ.สนัด วงศ์ทวีทอง รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย กล่าวต้อนรับ และแนะนำอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายกระดับสอดรับกับนโยบายของรัฐ สนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่จะสามารถยกระดับประสิทธิภาพและคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตร นำไปสู่คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรไทย และได้รับเกียรติจาก ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมแห่งชาติ (BIOTEC) และประธานคณะทำงาน BCG Model ด้านเกษตรอาหาร บรรยายภาพรวมการทำงานและนำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มมูลค่า แปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ อคส.
จากนั้นมีการเข้าเยี่ยมชม ศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ NSTDA Characterization and Testing Service Center (NCTC) หน่วยงานด้านการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ด้าน อาหาร ยา และสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหาร ชั้น 3 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 ทาวเวอร์ C
การลงนามความร่วมมือและเยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ในครั้งนี้จะเป็นการขับเคลื่อนงานนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า ผลิตผลทางการเกษตร สอดคล้องกับนโยบาย BCG ที่เป็นยุทธศาสตร์ประเทศ ที่ทั้งสองหน่วยงานได้ตั้งเป้าหมายร่วมกันไว้ต่อไป

ถ่ายทอดสดสัมนา หัวข้อ “Professional Composite Product Creation by 3D Printing Technology”

DECC NEWS & EVENTS

ถ่ายทอดสดสัมนา หัวข้อ


“Professional Composite Product Creation by 3D Printing Technology” โดย ศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ในงานแสดงสินค้า INTERMACH and MTA Asia

งานสัมนา “กลไกการสนับสนุนผู้ประกอบการและการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อลดต้นทุนในยุคโควิด-19”

DECC NEWS & EVENTS

งานสัมนา “กลไกการสนับสนุนผู้ประกอบการและการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อลดต้นทุนในยุคโควิด-19”

งานสัมนา “กลไกการสนับสนุนผู้ประกอบการและการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อลดต้นทุนในยุคโควิด-19″วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ณ ห้อง MR220-221 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคในงานแสดงสินค้า SUBCON Thailand 2022

ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์และคณะ เข้าเยี่ยมชม DECC

DECC NEWS & EVENTS

ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์และคณะ เข้าเยี่ยมชม DECC


15 มิถุนายน 2565 ดร.อัมพร โพธิ์ใย และคุณจิรพร ศุภจำปิยา พร้อมคณะทำงานฯ TD-X Center อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. ให้การต้อนรับ ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ และคณะเยี่ยมชม โดยมีกิจกรรมแนะนำบริการของศูนย์เร่งพัฒนาต้นแบบรวดเร็ว (TD-X Center) การสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตแบบรวดเร็ว ด้วย Composite 3D Printing  พร้อมสาธิตการใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อให้บริการกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป